เมื่อการ Upskill ไม่เพียงพอ ต้องใช้การ Reskill และ Nextskill ด้วย

ปัจจุบันธุรกิจเดินหน้าไปอย่างรวดเร็ว เทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาเป็นส่วนหนึ่ง รวมถึงแทนที่การทำงานบางส่วน รวมทั้งสถานการณ์ต่างๆ รวมถึงปัจจัยร่วมอีกมากมาย ทำให้เห็นว่าโลกการทำงานมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา การทำงานก็เปลี่ยนเช่นกัน องค์กรหลายแห่งมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำงาน องค์กรบางแห่งมีการกำหนดขอบแขตของงานใหม่ ให้พนักงานมีการทำงานในเนื้องานใหม่ที่คลอบคลุมกับการทำงานมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้ทักษะการทำงานแบบเดิมอาจไม่เพียงพอ ทักษะบางอย่างอาจะล้าสมัย ทักษะบางอย่างอาจะไม่ครอบคลุมกับการทำงานที่มีความต้ การพัฒนาทักษะการทำงานให้มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับโลกในปัจจุบันและอนาคตจึงกลายเป็นเรื่องสำคัญ 

ข้อมูลจาก The World Economic Forum ประมาณการณ์ไว้ว่า 

  • ในอนาคตจะมีการโยกย้ายงาน หรืองานอย่างอื่นเข้ามาแทนที่ 75 ล้าน ตำแหน่งภายในปี 2565 
  • 54% ของพนักงานทั้งหมด จำเป็นจะต้องเพิ่มทักษะครั้งใหญ่ภายในปี 2022 ซึ่งการเพิ่มทักษะจะทำให้บริษัทสามารถเลือกได้ว่าจะเก็บใครหรือกำจัดใครออกจากองค์กร ในขณะที่บริษัทเองก็ต้องปรับรูปแบบของชุดทักษะและความรู้พื้นฐานให้ดีขึ้นเพื่อให้เข้ากับความจำเป็นในปัจจุบันขององค์กรด้วย 
  • 35% ของทักษะหลักจะถูกเปลี่ยนแปลงระหว่างปี 2015 ถึง 2020
  • 40% ของพนักงานได้กล่าวว่าพวกเขายังขาดทักษะความชำนาญเฉพาะทางที่จะมาเติมเต็มในตำแหน่งงานที่พวกเขากำลังเผชิญอยู่

ดังนั้นองค์กรจึงต้องพัฒนาทักษะของพนักงานให้สอดคล้องกับทักษะที่องค์กรต้องการ ซึ่งในบทความนี้จะกล่าวถึงการพัฒนาทักษะใน 3 ประเภท คือ Upskill Reskill และ Nextskill ดังนี้

Upskill เป็นการพัฒนาทักษะเดิมที่มีอยู่ยกระดับให้มีประสิทธิภาพ และทันสมัยมากขึ้น เพื่อรองรับกับงานที่มีความท้าทายในปัจจุบันและอนาคต โดยปัจจุบันทักษะที่มีการ Upskill กันอย่างแพร่หลาย คือเรื่องการเพิ่มทักษะด้านเทคโนโลยี 

Reskill เป็นการเพิ่มเติมทักษะใหม่ในงานเดิม เป็นการเรียนรู้ทักษะใหม่ เพื่อนำไปใช้ในตำแหน่งงานเดิม แต่อาจะมีบริบทที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งการ Reskill จะส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำงานเกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นได้ เช่น เมื่อองค์กรเปลี่ยนรูปแบบการทำงานเป็น Remote Working เมื่อเกิดการ Reskill ด้านเทคโนโนโลยี พนักงานก็จะสามารถทำงานผ่านโปรแกรมต่างๆได้อย่างราบรื่นส่งผลให้งานมีความคล่องตัวและรวดเร็วขึ้น 

Nextskill เป็นการเพิ่มเติมทักษะที่เหมาสมกับยุคสมัยใหม่ เพื่อให้การทำงานสอดคล้องไปกับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว การเพิ่ม Nextskill ให้กับตนเองถือเป็นการพัฒนาไม่ให้ตัวเองหยุดอยู่กับที่และมีโอกาสฉายแสงแสดงศักยภาพการทำงานได้อย่างเต็มที่ ซึ่งถือเป็นใบเบิกทางสู่ความก้าวหน้าในการทำงานได้อย่างดีเยี่ยม 

ข้อมูลจาก mckinsey ได้นำเสนอ 6 ขั้นตอนสู่การพัฒนาทักษะใหม่ (Reskill) ได้อย่างน่าสนใจ ดังนี้

ระบุทักษะที่จำเป็นสำหรับองค์กรของคุณ 

องค์กรจำเป็นที่จะต้องทำแผนกลยุทธ์ว่าทักษะใดบ้างคือสิ่งที่จำเป็นและจะช่วยขับเคลื่อนองค์กรให้ไปข้างหน้าได้อย่างไร โดยสามารถระบุรายละเอียดของกิจกรรม พฤติกรรม ทักษะที่จำเป็น ระบุจำนวนและประเภทของคนที่คุณต้องการ ตัวอย่างเช่น หากคุณกำลังเปลี่ยนจากการขายในร้านค้าไปสู่การขายแบบ Delivery ทีมเทคโนโลยีและผู้ประสานงานด้านลอจิสติกส์และมีผลกระทบต่อกลยุทธ์ใหม่มากกว่าที่เคยทำกับกลยุทธ์เก่า พวกเขาอาจต้องการชุดทักษะที่แตกต่างกันเพื่ออำนวยความสะดวกในความต้องการที่เพิ่มขึ้นและความคาดหวังของลูกค้า

สร้างทักษะพนักงานที่สำคัญต่อรูปแบบธุรกิจใหม่ของคุณ

ขั้นตอนแรกองค์กรควรให้ความสำคัญกับทักษะที่เป็นพื้นฐานให้กับพนักงาน ซึ่งไม่ว่าบทบาทการทำงานจะเปลี่ยนไปอย่างไร ทักษะนี้ก็จะได้ใช้ประโยชน์ โดยเน้นการลงทุนในทักษะ 4 ประเภท: ทักษะด้านดิจิทัล ทักษะด้านการเรียนรู้ที่พัฒนาให้เกิดความเชี่ยวชาญที่สูงขึ้น ทักษะด้านสังคมและอารมณ์ และทักษะด้านการปรับตัวและความยืดหยุ่น

การปรับปรุงแผนการเรียนรู้ให้เหมาะสม

การวางแผนการเรียนรู้ทักษะที่จำเป็นองค์กรควรมีการวางแผนโดยสนใจความต้องการของทักษะเฉพาะกลุ่ม เพื่อปิดช่องว่างการเรียนรู้ทักษะที่สำคัญไม่ให้ขาดหายไป และที่สำคัญต้องพัฒนาทักษะที่จำเป็นให้สามารถใช้งานได้ทันเวลา โดยปัจจุบันองค์กรมีการให้พนักงานสามารถเรียนรู้ได้โดยนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามามีส่วนช่วยเพื่อให้เข้าถึงได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น 

เริ่มลงมือทำ ทดสอบและทำซ้ำ 

ในการสำรวจ เราพบว่าบริษัทส่วนใหญ่ที่เริ่มต้นการพัฒนาทักษะพนักงานแล้วประสบความสำเร็จ สามารจัดการกับช่องว่างของทักษะที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีได้ แต่สำหรับองค์กรที่ไม่ประสบความสำเร็จก็ถือว่าได้บทเรียนจากการลงมือทำ ทำให้สามารถรับมือได้ดียิ่งขึ้น และสามารถนำไปต่อยอดใช้ได้ในอนาคต

ทำตัวเหมือนองค์กรขนาดเล็กเพื่อสร้างผลกระทบที่ยิ่งใหญ่ 

เป็นที่น่าแปลกใจที่การพัฒนาทักษะของพนักงานในองค์กรขนาดเล็กประสบความสำเร็๗มากกว่าองค์กรขนาดใหญ่ ทั้งๆที่องค์กรใหญ๋ๆ น่าจะสามารถเข้าถึงทรัพยากรต่างๆ ได้มากกว่า แต่เป็นเพราะองค์กรขนาดเล็กมีความคล่องตัวมากกว่า ในการขับเคลื่อนหรือสร้างผลกระทบที่มีความเปลี่ยนแปลงได้อย่างชัดเจน

การจัดสรรงบประมาณในการพัฒนาทักษะพนักงาน

การพัฒนาทักษะของพนักงานเป็นการลงทุนเพื่อรองรับกับการทำงานในยุค Next Normal ซึ่งสามารถทำได้ทันที โดยเน้นการสร้างสิ่งแวดล้อมในการเรียนรู้ที่ยืดหยุ่น เช่น การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาแทนที่การพัฒนาแบบออฟไลน์ เพื่อให้พนักงานเข้าถึงได้ง่ายมากขึ้น

ดูหลักสูตรเพิ่มเติมเพื่อพัฒนาทักษะแบบ Nextskill รองรับยุค Next Normal ได้ที่นี่

ที่มา

https://www.mckinsey.com/business-functions/organization/our-insights/to-emerge-stronger-from-the-covid-19-crisis-companies-should-start-reskilling-their-workforces-now

https://www.talentguard.com/blog/reskilling-upskilling-strategic-response-changing-skill-demands