ทำงานร่วมกับพนักงาน Generation  ใหม่ ต้องเข้าใจความต้องการ

โลกยุคใหม่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว ความต้องการของพนักงานก็ย่อมเปลี่ยนตามเช่นกัน โดยเฉพาะพนักงาน Generation ใหม่ที่มีความต้องการรูปแบบต่างๆ ที่เปลี่ยนไปตามยุคสมัย ซึ่งถือเป็นความท้าทายของหัวหน้างาน ฝ่ายบริหารทรัพยากรบุคคล และองค์กรที่จะให้ความสำคัญกับความต้องการเหล่านี้ เพื่อรักษาพนักงานที่มีความสามารถ ให้มีความสุขกับการทำงาน พร้อมสร้างผลงานที่มีประสิทธิภาพอีกด้วย ซึ่งแน่นอนว่าความต้องการที่มีเหล่านั้นเป็นสิ่งที่นอกเหนือจากค่าตอบแทน ดังนี้

งานที่มีความหมาย

การได้รับมอบหมายให้ได้ทำงานที่มีความสำคัญ หรือมีคุณค่าต่อองค์กร สามารถตอบโจทย์เป้าหมายขององค์กร และตอบโจทย์เป้าหมายของพนักงาน หรือส่งผลกระทบในเชิงบวกเป็นวงกว้าง เช่น หลายบริษัทมีกิจกรรมเพื่อสังคม (CSR) ให้พนักงานได้เข้าร่วม มีงานใหม่ๆที่ท้าทายให้ลงมือทำอยู่เสมอ เป็นต้น จะทำให้พนักงานรู้สึกถึงคุณค่าของสิ่งที่ตั้งใจและลงแรงทำไป ส่งผลให้พนักงานมีแรงบันดาลใจที่จะทำงานอย่างต่อเนื่อง มีความพึงพอใจกับงาน และลดอาการหมดไปฟในการทำงานได้

แบบสำรวจจาก  ServiceNow, Inc.ซึ่งสอบถามความเห็นการสำรวจพนักงานออฟฟิศ 2,001 คนพบว่า พนักงาน 6 ใน 10 คนต้องการขอให้เจ้านายทำงานที่มีความหมายมากกว่าการขึ้นเงินเดือน (61 % เทียบกับ 34 %)

การสร้างการมีส่วนร่วม

การมีส่วนร่วมของพนักงานในองค์กร เป็นการให้ความร่วมมือกับองค์กรในทุกๆด้านทั้งกิจกรรมขององค์ หรือ การทำานร่วมกัน ซึ่งองค์กรที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมอย่างมีปนะสิทธิภาพจะสามารถสร้างความผู้กพันธ์ระหว่างพนักงานด้วยกันเอง และระหว่างพนักงานกับองค์กรได้ ซึ่งแน่นอนว่า เมื่อเกิดความผูกพันธ์ต่อองค์กรขึ้นจะทำให้เกิดความร่วมมือ ร่วมใจเพื่อผลักดันให้องค์กรปนะสบความสำเร็จได้ง่ายขึ้น

Towers Watson พบว่าปัจจัยที่สำคัญที่สุดสำหรับ 27 % ของพนักงานที่ระบุว่า “ไม่ได้รับการสนับสนุน” คือการสนับสนุนจากหัวหน้างาน ระดับความเครียด และปริมาณงานของพวกเขา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง:

  • 43 % เห็นด้วยว่าหัวหน้างานได้ขจัดอุปสรรคที่อาจส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติงานได้อย่างเพียงพอ
  • 26 % เห็นด้วยว่าผู้บริหารมีส่วนเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจที่มีผลกระทบต่อพนักงาน
  • 48 % รู้สึกว่างานที่พวกเขาต้องทำนั้นสมเหตุสมผล
  • 40 % รู้สึกว่ามีพนักงานในกลุ่มงานมากพอที่จะทำงานได้อย่างถูกต้อง

มีความยืดหยุ่นในการทำงาน

การทำงานที่มีความยืดหยุ่นทั้งด้านรูปแบบการทำงาน ระยะเวลาการทำงาน เป็นอีกปัจจัยหนึ่งเป็นความต้องการของพนักงาน Generation  ใหม่ และเป็นความท้าทายที่หลายองค์กรต้องบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ เพราะส่งผลต่อการวัดผลการทำงาน ซึ่งไม่สามารถวัดได้จากการขาด ลา มาสาย แต่ต้องมุ่งเน้นที่ผลลัพธ์ของการทำงานที่มีคุณภาพ 

  • 60 % ของผู้ปฏิบัติงานที่ยืดหยุ่นกล่าวว่าการตั้งค่าเวลายืดหยุ่นทำให้พวกเขาทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีส่วนร่วมมากขึ้นเมื่ออยู่ในสำนักงาน
  • ในปี 2018 การสำรวจที่ทำในสหรัฐอเมริกาพบว่า 55 % ของผู้ตอบแบบสอบถาม Generation X กล่าวว่าความยืดหยุ่นในการทำงานเป็นสิ่งสำคัญ เมื่อเทียบกับ 49 % ของผู้ตอบแบบสอบถาม Generation Z, 53 % ของคนรุ่นมิลเลนเนียล และ 50 % ของ Boomers
  • 51 % ของผู้ตอบแบบสอบถามอายุระหว่าง 45 – 60 ปี และ 70 % ของผู้ตอบแบบสอบถามอายุระหว่าง 18 – 34 ปี กล่าวว่าพวกเขามักใช้ประโยชน์จากการตั้งค่าการทำงานที่ยืดหยุ่นตามลำดับ

Work Life balance

นอกจากการทำงาน การใช้ชีวิตในมิติอื่นๆ นอกเหนือจากเรื่องการทำงานก็เป็นสิ่งที่ต้องการในยุคนี้ การทำงานทำให้เกิดทักษะความเชี่ยวชาญในงาน แต่การสร้างสมดุลระหว่างชีวิตการทำงานกับการใช้ชีวิตส่วนตัวจะทำให้เกิดผลดีต่อสุขภาพร่างกาย สุขภาพจิต และความสัมพันธ์กับผู้คนรอบข้าง แน่นอนว่าเมื่อเกิดผลดีเหล่านี้ขึ้นความขัดแข้งระหว่างการทำงานและบทบาทอื่นๆ ก็จะลดน้อยลง ทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยองค์กรเองก็สามารถส่งเสริมให้เกิด Work Life balance ได้

  • 66 % ของคนงานรู้สึกว่าพวกเขาไม่มีสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานในชีวิต 
  • บริษัทที่ส่งเสริมความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานมีประสิทธิผลมากกว่าบริษัทที่ไม่ได้ทำถึง 2 เท่า ) 
  • 72 % ของผู้ตอบแบบสอบถามพิจารณาว่าสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานเป็นปัจจัยสำคัญในการเลือกงาน

ความก้าวหน้าในอาชีพ

การทุ่มเททำงานอย่างเต็มที่ นอกจากความภาคภูมิใจ ความก้าวหน้าในตำแหน่งหรือสายงานก็เป็นอีกสิ่งที่พนักงานต้องการ ซึ่งองค์กรที่มีเส้นทางการเติบโตของอาชีพอย่างชัดเจน พร้อมค้นหาศักยภาพที่มีและหยิบยื่นโอกาสให้พนักงานได้เรียนรู้และเติบโต จะทำให้พนักงานมองเห็นเป้าหมายในการพัฒนาศักยภาพ มีแรงบันดาลใจที่จะเติบโตอย่างมั่นคงในองค์กร ซึ่งจะทำให้องค์กรเติบโตได้อย่างก้าวกระโดด อีกทั้งยังเป็นตัวเลือกขององค์กรลำดับต้นๆ ที่พนักงานยุคใหม่อยากเข้ามาร่วมงานด้วย  แต่ในทางกลับกันหากองค์กรไม่ได้มีแผนความก้าวหน้าของสายงานต่างๆ อย่างชัดเจน การทำงานย่อมมองไม่เห็นเป้าหมายทำให้เกิดอาการหมดไฟในการทำงานได้ง่าย สุดท้ายก็จะนำไปสู่การลาออกของพนักงาน ซึ่่งส่งผลกับความต่อเนื่องในการทำงาน และมีผลต่อระยะเวลา รวมถึงงบประมาณในการสรรหาและคัดเลือกบุคลากรใหม่มาทดแทน 

การเข้าถึงความต้องการของพนักงาน สามารถทำได้ง่ายโดยการเปิดโอกาส และช่อทางให้พนักงานได้แสดงความคิดเห็น ในขณะเดียวกันองค์กรก็ต้องเปิดใจรับฟังพนักงานอย่างจริงใจ แล้วนำมาปรับใช้ ตอบสนองให้เห็นเป็นรูปธรรม พร้อมพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นไป