7 ข้อที่หัวหน้าทีมมือใหม่ไม่ควรมองข้ามในการบริหารงานและบริหารคน

หัวหน้าทีมมือใหม่ที่ได้รับมอบหมายให้ขึ้นมาดูแลทีม จากที่เดิมที่ต้องบริหารจัดการตัวงานที่ได้รับมอบหมาย การได้รับความไว้วางใจให้เป็นหัวหน้าทีมก็มีอีกหนึ่งหน้าที่ที่ต้องบริหารจัดการเพิ่มขึ้น นั่นก็คือเรื่องของทีมงาน ซึ่งแน่นอนว่าสมาชิกในแต่ละทีมนั้นประกอบไปด้วยคนที่มีความแตกต่างหลากหลายมาอยู่ร่วมกัน ซึ่งจะส่งผลในแง่ดีที่สามารถนำจุดเด่น ความสามารถที่หลากหลายมาเติมเต็มและสนับสนุนให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น แต่ในอีกมุมหนึ่งหากความแตกต่างของแต่ละบุคลิกลักษณะไม่ถูกจัดการให้เกิดความเข้าใจก็อาจส่งผลให้แง่ลบที่เกิดจากความไม่เข้าใจกันภายในทีมได้ ดังนั้นหัวหน้าทีมจึงต้องฝึกทักษะในการจัดการงานและทีมในภาพรวม โดยเริ่มต้นง่ายๆ จาก 7 ข้อนี้ 

ทักษะการสื่อสาร 

  • ร้อยละ  86 ของพนักงานและผู้บริหารกล่าวถึงการขาดความร่วมมือหรือการสื่อสารที่ไม่มีประสิทธิภาพสำหรับความล้มเหลวในที่ทำงาน
  • บริษัทและองค์กรที่สื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพมีแนวโน้มที่จะรักษาพนักงานที่ดีที่สุดไว้ 4.5 เท่า

ทักษะการสื่อสารมีความสำคัญอย่างมากต่อคนที่เป็นผู้นำ ตามรายงานของ Economist Intelligence Unit การสื่อสารที่ไม่มีประสิทธิภาพอาจนำไปสู่ปัญหาอื่นๆ ตามมา ดังนั้นผู้นำจึงต้องสามารถประเมินสถานการณ์และคู่สนทนา เพื่อเลือกวิธีการสื่อสารที่เหมาะสม ลดความขัดแย้ง และก่อให้เกิดความเข้าใจอย่างชัดเจนต่อกัน

การมอบหมายงาน

  • London Business School กล่าวว่า ผู้บริหารเพียงร้อยละ 30 ที่เชื่อว่าพวกเขาสามารถมอบหมายงานได้ดี

หากมองผิวเผินการมอบหมายงานให้ลูกทีมคนหนึ่งทำงานหนึ่งชิ้นอาจเป็นเรื่องง่าย แต่การมอบหมายงานที่มีประสิทธิภาพนั้นมีรายละเอียดที่ต้องคำนึงถึงเพื่อให้เกิดความชัดเจนในการทำงาน และลดอัตราความผิดพลาดที่อาจะเกิดขึ้นได้ รวมทั้งการต้องการติดตามงานเป็นระยะพร้อมกับสื่อสารเพื่อให้ Feedback ในการปรับปรุงและแก้ไขงานให้บรรลุวัตถุประวงค์ที่ตั้งใจไว้อีกด้วย หลักสูตรการมอบหมายงาน Click….

การวางแผนและบริหารจัดการเวลา

  • ร้อยละ 18 ของผู้คนมีระบบการจัดการเวลาโดยเฉพาะ
  • ร้อยละ 82 ของคนไม่มีระบบการจัดการเวลาโดยเฉพาะ
  • ร้อยละ 49 ของผู้คนไม่เคยทำการทบทวนว่าพวกเขาใช้เวลาอย่างไร

ทักษะการวางแผนและการบริหารจัดการเวลาถือเป็นการกำหนดทิศทางในการทำงานในแต่ละช่วง การวางแผนและจัดการเวลาที่ดีจะทำให้สามารถมองเห็นเป้าหมายของงานและรายละเอียดของงานในส่วนต่างๆ รวมถึงความสำคัญของงานที่เร่งด่วน หรือจำเป็น เพื่อจัดสรรทรัพยากร และทีมงานได้อย่างเหมาะสม

การพัฒนาทีมงาน

  • ร้อยละ 54 ของพนักงานกล่าวว่าความรู้สึกเป็นทีมที่เข้มแข็ง เพื่อนร่วมงานที่ยอดเยี่ยม  การได้รับภารกิจร่วมกัน ทำให้พวกเขาอยู่ที่บริษัทนานกว่า
  • ร้อยละ 37 ของพนักงานกล่าวว่า “การทำงานเป็นทีมที่ยอดเยี่ยม” เป็นเหตุผลหลักในการอยู่ต่อ

ทีมงานเป็นบุคคลสำคัญที่จะช่วยให้งานเดินหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นการพัฒนาทีมทั้งเรื่องทักษะการทำงาน รวมทั้งทักษะอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง จึงจำเป็นต่อการสร้างทีมให้มีความแข็งแกร่ง โดยที่หัวหน้างานและพนักงานเองอาจต้องวางแผนการพัฒนารายบุคคลร่วมกัน เพื่อให้ความรู้และทักษะที่ถูกพัฒนานั้นตอบโจทย์ต่อความต้องการขององค์กรและความต้องการของพนักงานเองด้วย 

การแก้ไขปัญหา

การทำงานนั้นจะต้องพบเจอกับความสำเร็จตามแผนที่วางไว้ และเราไม่อาจปฏิเสธได้ว่าการเจอปัญหาและอุปสรรคต่างๆ เป็นเรื่องปกติของการทำงาน แต่หัวหน้าทีมที่มีทักษะในการแก้ไขปัญหาได้อย่างดีจะช่วยลดความผิดพลาดและความเสียหายที่เกิดขึ้นได้ พร้อมทั้งทำให้การทำงานนั้นดำเนินต่อไปได้อย่างราบรื่น โดยอาศัยประสบการณ์ ความรู็ และความเชี่ยวชาญมาคิดวิธีแก้ปัญหา

การตัดสินใจ

  • ร้อยละ 26 เห็นด้วยว่าผู้บริหารมีส่วนเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจที่มีผลกระทบต่อพนักงาน

ในการทำงานหลายครั้งที่หัวหน้าทีมจำเป็นที่จะต้องตัดสินใจเพื่อเลือกแนวทาง หรือวิธีการจัดการให้การดำเนินงานราบรื่น ลดความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นโดยต้องคำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับส่วนต่างๆ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ให้มีผลกระทบเชิงลบน้อยที่สุด แต่ให้ได้รับประโยชน์สูงสุด

การโน้มน้าวและการจูงใจผู้อื่น

การโน้มน้าวและการจูงใจให้เกิดความร่วมมือและการมีส่วนร่วมในการทำงาน หรือกิจกรรมขององค์กร เพื่อให้พนักงานลงมือทำ หรือมีพฤติกรรมตามที่องค์กรต้องการ ซึ่งการโน้มน้าวใจที่มีประสิทธิภาพจะทำให้ผู้ถูกโน้มน้าวลงมือทำได้อย่างเต็มใจ ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานหรือเกิดความผูกพันในทีม หรือในองค์กรได้เป็นอย่างดี

  • พนักงานที่มีส่วนร่วมทำงานได้ดีขึ้น ร้อยละ 20
  • ทีมที่มีส่วนร่วมสูงส่งผลให้ผลกำไร  ทางธุรกิจเพิ่มขึ้น ร้อยละ 21
  • พนักงานที่มีส่วนร่วมมีโอกาสออกจากบริษัทน้อยลง ร้อยละ 87

การบริหารงานและบริหารทีมเป็นเรื่องที่มีความเชื่อมโยงกันอย่างชัดเจน หากมีหารบริหารจัดการทีมได้ดี ก็มีแนวโน้มสูงที่ผลงานจะออกมามีประสิทธิภาพ และบรรลุเป้าหมายได้ ดังนั้นการเข้าใจสไตล์ภาพรวมของทีมจะช่วยให้หัวหน้าทีมมือใหม่สามารถหาวิธีการจัดการทีมได้อย่างตรงจุด ซึ่งอาจต้องอาศัยประสบการณ์และเวลาในการศึกษา สร้างความสัมพันธ์กับทีม แต่ในปัจจุบันมีตัวช่วยในการวิเคราะห์ทีมที่ใช้งานง่าย รวดเร็ว และมีรายงานผลที่ชัดเจนทำให้สามารถนำไปต่อยอดใช้งานได้อย่างทันที ในรูปแบบของแบบประเมินออนไลน์ Team Insight