สร้างทีมทำงานให้แข็งแกร่งด้วยองค์ประกอบ 3 ส่วน

การทำงานเป็นทีมไม่สามารถประสบความสำเร็จได้ด้วยการใช้ทักษะความสามารถของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง สมาชิกในทีมหนึ่งคนไม่สามารถรู้ทุกสิ่ง หรือทำเป็นทุกอย่าง เพราะหากคนๆ หนึ่งจะสามารถจัดการงานได้ทุกอย่าง และฝึกฝนจนเกิดความเชี่ยวชาญนั้นคงต้องใช้เวลาเรียนรู้ไม่น้อยเลยทีเดียว ดังนั้นการทำงานเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพจึงจำเป็นที่จะต้องใช้ทักษะที่มีความแตกต่างและหลากหลายของคนในทีมเพื่อเสริมหนุนซึ่งกันและกัน 

team create

เว็บไซต์ Harvard Business Review ได้กล่าวถึงงานวิจัยที่ชี้ให้เห็นว่าทีมงานที่มีประสิทธิภาพสูงจำทำสิ่งที่แตกต่างไปจากเดิม 5 ประการ คือ

1.) ทีมที่มีประสิทธิภาพสูงจะไม่กลัวที่จะรับโทรศัพท์

การวิจัยของเราพบว่าทีมที่มีประสิทธิภาพสูงมักจะสื่อสารบ่อยขึ้น และมีแนวโน้มที่จะสื่อสารกับเพื่อนร่วมงานโดยใช้โทรศัพท์ ซึ่งเป็นช่องทางกระชับความสัมพันธ์และป้องกันความเข้าใจผิด มากกว่าเพื่อนที่ประสบความสำเร็จน้อยกว่า โดยเฉลี่ย 10.1 เทียบกับ 6.1 สายต่อวัน

2.) ทีมที่มีประสิทธิภาพสูงมีกลยุทธ์ในการประชุมมากขึ้น

ทีมที่มีประสิทธิภาพสูงมีแนวโน้มที่จะเตรียมการล่วงหน้าก่อนการประชุมถึง 39% มีการชี้แจงวาระการประชุมให้ทราบเพิ่มขึ้น 26% และเริ่มต้นการประชึมด้วยการแจ้งความคืบหน้าเพิ่มขึ้น 55% ซึ่งแน่นอนว่า การประชึมที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ก็บ่งบอกถึงแนวโน้มในการทำงานร่วมกันได้อย่างดียิ่งขึ้น

3.) ทีมที่มีประสิทธิภาพสูงจะมีการพูดคุยกันถึงเรื่องราวอื่นๆ ที่นอกเหนือจากเรื่องงาน

ทีมที่มีประสิทธิภาพสูงจะมีการพูดคุยถึงเรื่องต่างๆ  เช่น การทำอาหาร การชมภาพยนตร์ การแข่งกีฬา เป็นต้น ซึ่งการพูดคุยถึงเรื่องที่ไม่ใช่เรื่องงานจะช่วยกระชับความสัมพันธ์ และสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกันได้

4.) ทีมที่มีประสิทธิภาพสูงให้และรับคำชื่นชมบ่อยขึ้น

ทีมที่มีประสิทธิภาพสูง มักจะได้รับคำชื่นชมจากทั้งเพื่อนร่วมงานและผู้จัดการ จากสถิติ พบว่า ทีมจะได้รับความชื่นชมในที่ทำงานบ่อยครั้งขึ้น ทั้งจากเพื่อนร่วมงาน (มากกว่า 72%) และผู้จัดการ (มากกว่า 79%)

5.) ทีมที่มีประสิทธิภาพสูงมีความจริงใจมากกว่าในที่ทำงาน

ทีมที่มีประสิทธิภาพสูงมีแนวโน้มที่จะแสดงอารมณ์เชิงบวกกับเพื่อนร่วมงาน ซึ่งส่งปลดีต่อความสัมพันธ์ที่ดีในการทำงาน ทำให้สมาชิกในทีมประสบกับความปลอดภัยทางจิตใจในการแสดงอารมณ์อย่างเต็มที่กับเพื่อนร่วมงาน

โดยการสร้างทีมที่มีศักยภาพ ที่สมาชิกในทีมสามารถสื่อสาร พร้อมกับสร้างความร่วมมือในการทำงานได้อย่างราบรื่น ต้องอาศัยองค์ประกอบ 3 ส่วนที่จะเป็นตัวช่วยให้การพัฒนาทีมมีทิศทางที่ชัดเจนยิ่งขึ้น ดังนี้

รู้จักบุคลิกลักษณะส่วนบุคคล (Personality Profile)

การทำความรู้จักลักษณะส่วนบุคคลของแต่ละคน ทั้งตนเอง เพื่อนร่วมงาน ผู้บังคัญบัญชา เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการสร้างทีม เพราะเมื่อแต่ละบุคคลรู้จักพฤติกรรมที่แสดงออกในสถานการณ์ต่างๆ จุดแข็ง จุดอ่อน จุดที่ควรระมัดระวัง รูปแบบการทำงาน การตอบสนองในสภาวะกดดัน จะสามารถนำไปต่อยอดเพื่อพัฒนาตนเอง การทำความเข้าในลักษณะที่เหมือนและต่างกันของแต่ละบุคคล นำไปสู่การปรับตัวเพื่อให้การสร้างความร่วมมือในแบบทีมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น 

สำหรับการทำความรู้จักบุคลิกลักษณะส่วนบุคคลสามารถทำได้หลายวิธี โดยเริ่มต้นได้ง่ายๆ ด้วยตนเองจากวิธีการสังเกตคือ ท่าทาง (visual) คำพูด (verbal) และ น้ำเสียง (vocal) หรือการทำแบบประเมินประเมินบุคลิกลักษณะที่ปัจจุบันมีหลากหลายรูปแบบ และหลายช่องทางทั้ง Offline และ Online

รู้จักรูปแบบของทีม (Team Profile)

หลังจากที่ได้ทำความรู้จักลักษณะส่วนบุคคลของแต่ละคนที่มีทั้งส่วนที่คล้ายคลึงและแตกต่างกัน รูปแบบของทีมก็เช่นกัน เพราะลักษณะของบุคคลนั้นส่งผลต่อรูปแบบการทำงานของทีม หากมีการให้ความสำคัญกับรูปแบบของทีม พัฒนาได้อย่างตรงจุด ทีมก็จะสามารถสร้างผลงานที่มีประสิทธิภาพได้ ซึ่งทีมทุกรูปแบบมีทั้งข้อดี และข้อที่ควรระวัง

การทำความรู้จักกับรูปแบบของทีมนั้นก็สามารถทำได้คล้ายกับลักษณะส่วนบุคคล อาจเริ่มต้นจากการสังเกต และเพิ่มความแม่นยำขึ้นด้วยการใช้แบบประเมินต่างๆ  โดยแบบประเมินออนไลน์ Team Insight ที่ให้หลักการแง่มุมในเชิงจิตวิทยาประยุกต์ของ DISC MODEL ได้แบ่งรูปแบบของทีมออกเป็น 8 รูปแบบ โดยกำหนดจากจุดเน้นหรือการให้ความสำคัญ ดังนี้ การให้ความสำคัญกับผลลัพธ์ / แรงจูงใจ / ความกระตือรือร้น / สัมพันธภาพ / การสนับสนุน / ความมั่นคง / ความถูกต้องแม่นยำ และ ความสามารถ โดยแบบประเมินนี้จะอธิบายผลประเมินในรูปแบบรายงานเพื่อให้สามารถนำไปต่อยอดในการพัฒนาทีมได้  

รู้จักปรับเพื่อการทำงานร่วมกันในทีม (Style Adaptability)

 ในทีมที่มีความแตกต่างหลากหลายของสมาชิกมีทั้งข้อดีและข้อที่ต้องระวัง คือ สามารถใช้ทักษะความสามารถที่แตกต่างเสริมหนุนซึ่งกันและกันได้ ทำให้เกิดความคล่องตัวในการทำงาน แต่ในขณะเดียวกันความแตกต่างอาจทำให้เกิดความไม่เข้าใจหรือความขัดแย้งขึ้น ดังนั้นสมาชิกในทีมจึงต้องเข้าใจ และให้ความสำคัญในเรื่องของลักษณะของแต่ละบุคคล และรูปแบบของทีม เพื่อหาวิธีปรับเข้าหากันให้เหมาะสมกับบริบท สภาพแวดล้อม และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการทำงาน ทั้งวิธีการทำงาน รูปแบบการสื่อสาร ซึ่งจะช่วยลดความขัดแย้ง เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน และความสุในการอยู่ร่วมกันในองค์กรได้เป็นอย่างดี

หากใครหรือองค์กรไหน กำลังมองหาตัวช่วยในการสร้างทีมให้มีประสิทธิภาพ มีความเป็นมืออาชีพ เพื่อรองรับเป้าหมายขององค์กร สามารถสอบถามมายัง Next skill ได้ เรามีเครื่องมือที่จะช่วยออกแบบกระบวนการให้เฉพาะเจาะจงกับความต้องการของแต่ละองค์กรค่ะ

สนใจ ประเมิน DISC Click