HR ยุคใหม่ กับบทบาทการเป็น Change​ Agent

การเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการทำธุรกิจในปัจจุบันเทคโนโลยี เศรษฐกิจ คู่แข่ง และความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา การจัดการการเปลี่ยนแปลงได้เปลี่ยนจากความเชี่ยวชาญพิเศษเฉพาะด้าน ไปสู่การพัฒนาผู้นำในองค์กรที่จะช่วยนำให้ทีมงานปรับตัวเข้ากับตลาดที่ขยับตัวและดำเนินการประจำวันต่อไป ในขณะที่การจัดการการเปลี่ยนแปลงเคยมุ่งเน้นที่การปรับปรุงการปฏิบัติงานและ/หรือกระบวนการและความคุ้มค่าเป็นหลัก แต่ตอนนี้ผู้บริหารกำลังใช้ความคิดเกี่ยวกับวิธีการทำสิ่งต่างๆ โดยไม่คำนึงถึงลำดับชั้นของสถาบัน องค์กรต่างๆ กำลังมองหาตัวแทนการเปลี่ยนแปลงเพื่อดำเนินการตามกระบวนการใหม่และช่วยให้พนักงานปรับตัวเข้ากับวิธีการใหม่ๆ ในการทำสิ่งต่างๆ

บทบาทหน้าที่ของ HR ในปัจจุบันมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น เพราะบริบทของการทำงานที่เปลี่ยนแปลงไป และเพิ่งผ่านช่วงสำคัญของสภานการณ์ที่ไม่ปกติ เช่น การปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงาน การปรับโครงสร้างองค์กร การลดเงินเดือน เป็นต้น นอกจากบทบาทหลักในด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ทั้งการสรรหา พัฒนาบุคลลากร ดูแลสวัสดิการด้านต่างๆ แล้ว ความคาดหวังอีกอย่างหนึ่งที่องค์กรต้องการก็คือการเป็น Change​ Agent หรือผู้นำการเปลี่ยนแปลง คือบุคคลที่ส่งเสริมและทำให้การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นภายในกลุ่มหรือองค์กร ซึ่ง Change​ Agent  จะช่วยให้องค์กรปรับตัวเข้ากับความท้าทายทางสังคมและเศรษฐกิจของที่เดินหน้าไปอย่างรวดเร็ว จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่องค์กรจะต้องมีผู้ช่วยที่คอยกระตุ้นให้พนักงานมีการปรับตัวให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว 

สำหรับจุดตั้งต้นของการเป็น HR Change​ Agent สามารถเริ่มต้นได้จากสิ่งที่เรียกว่า “Mindset” ซึ่งก็คือกรอบความคิด ความเชื่อที่ผ่านการหล่อหลอมมาเป็นตัวเราเอง ซึ่งกรอบความคิดนี้จะเป็นสิ่งที่บ่งบอกมุมมองในการนิยามสิ่งต่างๆ รอบตัว รวมถึงการเข้าใจตนเอง ซึ่งกรอบความคิดจะมีอิทธิพลต่อวิธีคิด ความรู้สึก และประพฤติกรรมในสถานการณ์ต่างๆ  ซึ่งในบทความนี้จะพูดถึงกรอบความคิดที่จำเป็นต่อการเป็น HR Change​ Agent นั่นก็คือ Growth​ Mindset​ และ Outward Mindset​ 

Growth​ Mindset​ หรือกรอบแนวคิดแบบเติบโต ซึ่งเป็นคำที่หลายคนอาจจะเคยได้ยินกันบ่อยๆ ซึ่งคนที่มี Growth​ Mindset​ จะมีลักษณะความคิดและความเชื่อที่พร้อมจะเปลี่ยนแปลงไปสู่ผลลัพธ์ที่ดีกว่า พร้อมเปิดใจยอมรับสิ่งใหม่ พร้อมที่ปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน รวมถึงพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังเรียนรู้ได้จากปัญหาอุปสรรคหรือความผิดพลาดที่เกิดขึ้น นำไปสู่การปรับตัวในการทำงานที่รวดเร็ว สามารถสร้างสรรค์วิธีการทำงานใหม่ๆ  หรือการแก้ปัญหาที่ตอบโจทย์องค์กร เพื่อที่จะพาตนเองและองค์กรไปสู่ความสำเร็จ 

Carol Dweck ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาศักยภาพของมนุษย์ของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ได้ทำการศึกษาเรื่อง Growth Mindset และ Fixed Mindset  ได้เขียนลงในหนังสือ Mindset : The New Psychology of Success ไว้ว่า 

“Growth Mindset สร้างให้เกิดแรงบันดาลในการที่จะเรียนรู้ พร้อมกับเชื่อมั่นว่าความสามารถและศักยภาพของมนุษย์เกิดขึ้นได้ จากความพยายามและการลงมือทำ โดยผู้ที่มี Growth Mindset  จะไม่ท้อแท้กับความล้มเหลวเพราะมองสิ่งเหล่านั้นเป็นการเรียนรู้ ”

ส่วนอีกกรอบความคิดหนึ่งนั่นก็คือ Outward Mindset หรือ กรอบความคิดที่มีมุมมองเกี่ยวกับผู้คนรอบข้าง มองผู้คนว่ามีชีวิตจิตใจ รวมถึงการคิดถึงผลกระทบจากผู้อื่นๆ และให้ความสำคัญกับงานของคนอื่น ให้เกิดการพัฒนาได้ดียิ่งขึ้นและรวดเร็วขึ้น โดยมองถึงภาพรวม ผลประโยชน์ร่วมที่เกิดขึ้น ไม่ได้มองแต่ผลประโยชน์ของตัวเองเพียงฝ่ายเดียว เพราะทุกคนรอบตัวมีความสำคัญต่อการพัฒนาองค์กร Outward Mindset จึงมีความสำคัญในการที่จะช่วยให้พนักงานในองค์กรผนึกกำลังกัน และช่วยเหลือซึ่งกันและกันเพื่อไปสู่เป้าหมายขององค์กร

Michigan State University ได้รวบรวมคุณสมบัติ 5 ข้อที่ผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่มีประสิทธิภาพควรมี ดังนี้

1. ความยืดหยุ่น

เชื่อมโยงจากกรอบความคิดแบบ Growth Mindset ข้างต้นจะเห็นได้ว่าคุณสมบัติของการมีความยืดหยุ่นจะช่วยให้สามารถการเปิดรับการเปลี่ยนแปลงได้เป็นอย่างดี และสามารถมองหาความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมเพื่อค้นหาวิธีที่แปลกใหม่สำหรับการพัฒนาพนักงาน และองค์กรให้เติบโตและประสานงาน สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้คน ทั้งภายในและภายนอกองค์กรได้

2. ความรู้ที่หลากหลาย

ผู้นำที่ประสบความสำเร็จหลีกเลี่ยงการติดอยู่ในกรอบความคิดและข้อมูลเดิมๆ รวมถึงเข้อมูลเฉพาะเนื้องานของจนเอง แต่จะเรียนรู้และเปิดรับข้อมูลต่างๆ มองเห็นโอกาสใหม่ ๆ สำหรับการเติบโต เพื่อกระจายความรู้ การพัฒนาและเรียนรู้ร่วมกันในองค์กร

3. การจัดลำดับความสำคัญ

ในการสร้างการเปลี่ยนแปลง การเชื่อมโยงลำดับความสำคัญกับเป้าหมายขององค์กร จะช่วยให้การดำเนินงานในส่วนต่างๆ มีประสิทธิภาพมากขึ้น การจัดลำดับความสำคัญ เป็นการตัดสินใจว่างานไหน ควนจัดการในรูปแบบใด เช่น บางงานที่ไม่เร่งด่วนสามารถมอบหมายงานต่อได้ บางงานที่เร่งด่วนและสำคัญ ต้องใช้อำนาจการตัดสินใจเฉพาะต้องลงมือทำด้วยตนเอง บางงานเป็นเรื่องที่ไม่เร่งด่วนและไม่สำคัญสามารถชะลอได้ เป็นต้น 

4. ความรับผิดชอบ

ผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่มีประสิทธิภาพ จะต้องรับผิดชอบต่อการปฏิงานของตนเอง วมถึงการทำงานของทีมด้วย  นั่นหมายถึง ผู้นำการเปลี่ยนแปลงจะต้องบริหารทั้งงาน และทีมงานให้สามารถทำงานได้อย่างราบรื่น สร้างความร่วมมือ ลดความขัดแย้ง 

5. ทักษะการฟังที่มีประสิทธิภาพ

ผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่มีประสิทธิภาพ จะใช้วิธีการฟังความคิดเห็นของผู้อื่นอย่างไม่ตัดสิน เปิดกว้างในการรับฟังมุมมองเรื่องต่างๆ และนำมาพิจารณาเมื่อมองหาแนวทางแก้ไข เพื่อสร้างเปลี่ยนแปลงที่ทรงพลัง ให้กับตัวพนักงานเอง และองค์กรของคุณ