5 สัญญาณการลาออกของพนักงานที่เริ่มหมดไฟและหมดใจ

การลาออกของพนักงานเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้กับพนักงานในทุกระดับและทุกตำแหน่ง ซึ่งเหตุผลในการขอลาออกของพนักงานนั้นมีสาเหตุหลากหลาย แตกต่างกันออกไป เช่น รู้สึกว่างานที่ทำไม่คุ้มค่ากับค่าตอบแทน สวัสดิการของพนักงานที่จูงใจไม่มากพอ ปัญหาเกี่ยวกับเพื่อนร่วมงานหรือหัวหน้างาน เนื้องานที่ไม่ท้าทายหรือน่าเบื่อ ตลอดจนความก้าวหน้าในสายอาชีพของตนเองที่ไม่ชัดเจน

โดยในการลาออกแต่ละครั้งพนักงานอาจมีพฤติกรรมบางอย่างที่แปลกออกไป ถือว่าเป็นสัญญาณเตือนอย่างหนึ่ง ที่หัวหน้างาน รวมถึงฝ่ายที่ดูแลบริหารทรัพยากรมนุษย์ในองค์กร ควรมีวิธีสังเกตพฤติกรรมที่เป็นสัญญาณของการเริ่มหมดไฟในการทำงานตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อบริหารจัดการทั้งคนและงานให้มีประสิทธิภาพและทันเวลา เพราะแน่นอนว่าการลาออกโดยเฉพาะพนักงานที่มีศักยภาพ หรือบุคคลที่ถือเป็น Keyman ขององค์กร นอาจส่งผลกระตอบต่อภาพรวมของการทำงาน หรือการบริหารจัดการองค์กรได้  

สถิติที่น่าสนใจในปี 2021 พบว่า

  • การมีโปรแกรมในการเริ่มต้นดูแลพนักงานที่ดี (Onboarding program) ทำให้พนักงาน 69% อยู่ทำงานกับองค์กรอย่างน้อย 3 ปี
  • การเปลี่ยนพนักงานต้องใช้เวลา เงิน และพลังงานอย่างมาก และ มีค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยมากถึง 33% ของเงินเดือนประจำปีของพนักงาน
  • 94% ของพนักงานที่ทำการสำรวจตอบว่าหากบริษัทลงทุนเพื่อช่วยให้พวกเขาเรียนรู้ พวกเขาจะอยู่นานขึ้น
  • วิธีที่ดีที่สุดในการรักษาพนักงานคือการทำให้พวกเขารู้สึกมีค่าและให้โอกาสพวกเขาในการเติบโตภายในองค์กรของคุณ เมื่อพนักงานไม่เห็นคุณค่าในที่ทำงาน 76% จะมองหาโอกาส หรืองานอื่น

5 สัญญาณการลาออกของพนักงานที่หัวหน้างานสามารถสังเกตได้

  1. เริ่มมีพฤติกรรมป่วย สาย ลา ขาด 

หากพนักงานของคุณ เริ่มมีการขอลากิจบ่อยครั้ง ครั้งละ 1-2 ชม. หรือมีลาป่วยบ่อยๆ หรือในบางครั้งก็ไม่แจ้งสาเหตุในการลาให้หัวหน้างานทราบ นี่อาจเป็นสัญญาณ หนึ่งที่บ่งบอกว่าพนักงานอาจะกำลังมองหางานใหม่ การขาดงาน หรือลางานอาจมีจุดประสงค์เพื่อการไปสัมภาษณ์งาน หรือต้องการใช้วันลาพักร้อนที่มีให้คุ้มค่าก่อนโบกมือลาออกจากองค์กรไป 

  1. เริ่มขาดกระตือรือร้น 

เมื่อสังเกตพนักงานคนเดิมที่เมื่อก่อนสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่กลับมีพฤติกรรมการทำงานที่เปลี่ยนไป ขาดการส่งงานที่มีคุณภาพ โดยที่เนื้องานไม่ได้มีความซับซ้อน หรือข้อจำกัดใดเพิ่มเติม นั่นแสดงว่าพนักงานอาจใส่ใจกับการทำงานน้อยลง และขาดความกระตือรือร้นในการทำงาน

  1. บ่นเรื่องเงินเดือนหรือสวัสดิการ 

หากเริ่มมีเสียงจากพนักงานที่พูดถึงค่าตอบแทน เงินพิเศษ รวมถึงสวัสดิการของบริษัท รวมถึงการพูดในรูปแบบที่เปรียบเทียบกับองค์กรอื่นๆ โดยปฏิเสธไม่ได้ว่าเรื่องของเงินเดือนถือเป็นปัจจัยสำคัญในการจูงใจพนักงานให้อยู่ต่อกับองค์กร ในหลายๆ ครั้งพนักงานอาจไม่ได้มีความต้องการเปลี่ยนงานเพราะเนื้องานหรือเพื่อนร่วมงานในองค์กรเป็นปัญหา แต่ต้องยอมรับว่าค่าตอบแทนเป็นสิ่งที่สำคัญในการดำรงชีวิตและบ่งบอกถึงความก้าวหน้าในการทำงาน การมีเสียงพูดถึงประเด็นนี้เพื่อสะท้อนความต้องการของพนักงาน และต้องการให้หัวหน้างานเป็นกระบอกเสียงไปสู่ผู้บริหารที่มีอำนาจในการบริหารจัดการเรื่องค่าตอบแทนนี้

  1. ขาดความสุขในการทำงาน 

หากพนักงานเริ่มมีอาการเบื่อ เซ็ง ขาดชีวิตชีวาในการทำงาน เช่น ตื่นเช้ามาแล้วไม่อยากเดินเข้าออฟฟิศมาทำงาน หรือจากเดิมมักจะมีไอเดียดีๆ นำเสนอในที่ประชุม แต่ปัจจุบันกลับไม่อยากแสดงความคิดเห็น หรือทำงานแบบขอให้ผ่านไปเร็วๆ  ขาดความใส่ใจในการทำงาน ก็แสดงให้เห็นว่าอาจเป็นสัญญาณที่บอกว่าพนักงานของคุณเริ่มไม่อยากไปต่อกับองค์กรแล้ว

  1. มีอารมณ์ความรู้สึกต่อต้านเพื่อนร่วมงงานหรือหัวหน้างาน

นอกจากพฤติกรรมการทำงานแล้วพนักงานที่มีแนวโน้มจะลาออกยังอาจะมีพฤติกรรมที่แสดงอารมณ์ความรู้สึกในเชิงลบมากขึ้นอาจเริ่มแสดงสีหน้า ท่าทาง หรือน้ำเสียงไม่พอใจกับหัวหน้าโดยไม่เก็บอาการ หรือเริ่มมีปากเสียงกับเพื่อนร่วมงานโดยไม่สนใจความสัมพันธที่ดีต่อกัน

หากหัวหน้างานเริ่มจับสังเกตและสัญญาณต่างๆ ที่ได้แนะนำไปเบื้องต้น สิ่งที่ทำได้คือ การเชิญพนักงานเข้ามาพูดคุยหาสาเหตุที่แท้จริง เพื่อวิเคราะห์ที่มาของพฤติกรรมดังกล่าว เช่น ความพึงพอใจในเรื่องค่าตอบแทน ระยะเวลาในการทดลองงาน อายุงาน ประสิทธิภาพในการทำงาน และโอกาสในการฝึกอบรม ซึ่งสิ่งเหล่านี้นอกจากจะช่วยรักษาพนักงานที่มีความสามารถให้อยู่ต่อกับองค์กรแล้วยังสามารถช่วยในการระบุแนวโน้มและจุดบอดภายในองค์กรของคุณอีกด้วย หลังจากการพูดคุยหากปัญหานั้นๆ หัวหน้างานมีความสามารถ หรืออำนาจในการตัดสินใจในการแก้ไขได้ด้วยตัวเอง ก็อาจะลงมือแก้ไขได้เลย แต่หากปัญหานั้นไม่สามารถแก้ไขได้ในทันที อาจเป็นกระบอกเสียงแทนพนักงานเพื่อส่งต่อไปยังผู้บริหารที่มีอำนาจในการจัดการได้ เพราะการรักษาพนักงานไม่ใช่แค่การทำให้พนักงานของคุณมีความสุขแต่ยังเกี่ยวกับการรักษาความสามารถและดูแลให้องค์กรได้รักษาพนักงานที่มีศักยภาพไว้กับคุณให้นานที่สุดอีกด้วย

สำหรับองค์กรไหนที่ไม่อยากดูแลและรักษาพนักงานให้สร้างผลงานคุณภาพกับองค์กรได้อย่างต่อเนื่อง ไม่โบกมือลาหายไประหว่างทาง ก็อย่ามองข้ามการดูแลพนักงานตั้งแต่การเริ่มต้นเข้ามาเป็นสมาชิกในองค์กร หรือการจัด Onboarding program ที่มีประสิทธิภาพ หากองค์กรไหนสนใจหลักสูตรนี้ สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมหลักสูตรได้ทาง