การสื่อสารเชิงบวกที่ช่วยสร้างพลังทีม

การสื่อสารในที่ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพนั้น เรียกได้ว่าเป็นหนึ่งในกลยุทธ์ที่สำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานภายในองค์กรและวัฒนธรรมภายในองค์กร โดยใช้ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลมาเพิ่มประสิทธิผล และเพิ่มผลลัพธ์ที่ดี รวมถึงช่วยรักษาความสัมพันธ์ในการทำงานเพื่อนำพาองค์กรไปสู่ความแข็งแกร่งอีกหนึ่งระดับ 

แต่ทว่าหลาย ๆ องค์กรยังไปไม่ถึงฝั่งฝันเนื่องจากขาดเทคนิคในการสื่อสารเชิงบวก ดังนั้น เราขอแนะนำกลยุทธ์การสื่อสารเชิงบวกในที่ทำงานเพื่อเป็นแนวทางที่นำมาปรับปรุงการสื่อสารในองค์กรให้ดีมากยิ่งขึ้น และสร้างทีมที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันมากยิ่งขึ้น 

ประโยชน์ของการสื่อสารเชิงบวก

แน่นอนว่าการสื่อสารได้กลายมาเป็นหนึ่งในทักษะสำคัญในโลกยุคปัจจุบันของเราเรียบร้อยแล้ว เนื่องจากการสื่อสารที่ดีได้กลายมาเป็นสูตรสำเร็จของความก้าวหน้าทางธุรกิจ และไม่ใช่แค่ในแง่ของการลดความขัดแย้งเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ยังช่วยสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างกัน ทำให้ทีมมีประสิทธิภาพและความผูกพันกันมากยิ่งขึ้นอีกด้วย โดยประโยชน์ของการสื่อสารเชิงบวกมีทั้งหมด 3 ข้อด้วยกัน ดังนี้ 

1.การสื่อสารเชิงบวกช่วยลดความขัดแย้งได้ 

ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในองค์กรส่วนใหญ่มักมาจากความเข้าใจผิดในการสื่อสาร โดยที่ผู้สื่อสารไม่ทันสังเกตว่าวิธีการสื่อสารของตนเองเป็นหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผู้รับฟังแปลสารไปเป็นอีกอย่าง จึงนำมาซึ่งความเข้าใจผิดในที่สุด ดังนั้น การสื่อสารที่ดีจะกลายเป็นรากฐานที่สำคัญที่ช่วยให้ผู้พูดและผู้ฟังเข้าใจตรงกัน รวมถึงเข้าใจในสิ่งที่ฝ่ายตรงข้ามต้องการจะสื่อ ซึ่งนี่จะช่วยกระชับความสัมพันธ์ระหว่างกันในที่ทำงานได้ พร้อมช่วยลดความขัดแย้งที่เกิดจากการไม่เข้าใจซึ่งกันและกัน 

2.เพิ่มความมีส่วนร่วมของพนักงาน 

การสื่อสารเชิงบวกมีข้อดีมากกว่าการพูดคุยสนทนา แต่เป็นการเพิ่มความมีส่วนร่วมและกระชับสัมพันธ์ระหว่างกันในที่ทำงานได้ เพราะการสื่อสารในเชิงบวกในส่วนในการสร้างสภาวะแวดล้อมที่ดีในที่ทำงาน สร้างบรรยากาศการทำงานดีขึ้น ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนร่วมงานดีมากขึ้นจนนำไปสู่การมีเป้าหมายในการทำงานเดียวกัน และนำพาความสำเร็จมาสู่องค์กร 

3.การสื่อสารเชิงบวกทำให้การทำงานได้ผลลัพธ์ที่ดีมากยิ่งขึ้น 

การมีทักษะการสื่อสารเชิงบวกนอกจากจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้ความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนพนักงานด้วยกันเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้นแล้ว ยังช่วยส่งเสริมให้การทำงานได้ผลลัพธ์ที่ดีมากยิ่งขึ้น เพราะการสื่อสารเชิงบวกนำมาซึ่งความเชื่อใจระหว่างกัน และการทำงานเป็นทีม รวมถึงเข้าใจถึงสกิลและความสามารถของอีกฝ่าย จึงทำให้การทำงานราบรื่น มีประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น 

เทคนิคการสื่อสารเชิงบวก ช่วยสร้างพลังภายในทีม 

เมื่อทุกคนทราบถึงข้อดีของการสื่อสารเชิงบวก เพื่อเสริมสร้างพลังงานภายในทีมโดยการสื่อสารที่ดี แต่จะมีเทคนิคหรือกลยุทธ์ใดบ้าง มาติดตามกันค่ะ 

1.พูดคุยแบบต่อหน้าดีที่สุด 

แม้ว่าในสถานการณ์ในช่วงนี้ทำให้ยากที่จะคุยกับเพื่อนพนักงาน หรือเจ้านายแบบต่อหน้ากัน เพราะว่ามีหลาย ๆ บริษัทยังคงให้พนักงาน Work From Home กันอยู่ แต่สำหรับการสื่อสารที่ดีในเชิงบวกนั้นควรจะสื่อสารต่อหน้ากัน เพราะว่าจะทำให้ผู้ฟังหรือผู้รับสารเข้าใจถึงภาษากาย สีหน้า และน้ำเสียงได้ว่าผู้พูดกำลังรู้สึกอย่างไร ดังนั้น ยังน้อย ๆ การพูดคุยในเรื่องสำคัญควรจะคุยกันผ่านวิดีโอคอล เพื่อให้เห็นอีกฝ่ายแบบชัด ๆ และทำความเข้าใจถึงเรื่องที่กำลังสื่อสารให้ตรงกัน เพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างราบรื่น 

2.เน้นการสื่อสารแบบแนวนอน 

การสื่อสารแบบแนวนอนหมายถึงไม่ว่าคุณจะมีตำแหน่งสูง หรือตำแหน่งพนักงานธรรมดาก็สามารถสื่อสารกันได้โดยตรง โดยไม่ผ่านคนกลาง ยกตัวอย่างพนักงานระดับจูเนียร์สามารถเสนอความคิดเห็นกับผู้บริหารได้โดยตรง เพราะว่ามีการสำรวจจาก The Economist Intelligence Unit มาแล้วพบว่า พนักงานกว่า 31% การสื่อสารขาดการสื่อสารกับผู้บริหารโดยตรง ทำให้พวกเขารู้สึกว่าผู้บริหารขาดความจริงใจ และทำให้ขวัญกำลังใจของพนักงานลดลง ดังนั้น การที่ผู้บริหารระดับสูงลงมาพูดคุยกับพนักงานระดับล่างด้วยตัวเองเป็นวิธีการหนึ่งที่ทำให้เกิดการเป็นน้ำหนึ่งอันเดียวกันมากขึ้น 

3.การใช้ Feedback ในเชิงบวก

การใช้ Feedback ในเชิงบวกหรือ (Positive Feedback) เป็นการสร้างขวัญกำลังใจที่ดีกับพนักงาน โดยเน้นการให้ข้อเสนอแนะในการทำงานเพื่อปรับปรุงงานและพัฒนางานแก่พนักงานในทางบวก โดยเน้นการให้กำลังใจหรือการชื่นชมแทนการกล่าวโทษหรือติเตียน ซึ่งจะช่วยให้พนักงานได้พัฒนาตัวเองได้ดีขึ้น มีกำลังใจในการทำงาน และมีความมุ่งมั่นในการแก้ไขงานมากกว่าการใช้วิธีการติเตียนหรือกล่าวโทษ

โดยนอกจากประเด็นที่กล่าวมานั้น ยังมีเรื่องการทำความเข้าใจในสิ่งที่พูดกำลังสื่อสารให้ได้มาก โดยไม่เข้าใจควรถามทันที เปิดโอกาสให้อีกฝ่ายได้พูด ซึ่งจะนำซึ่งความเข้าใจกันดีระหว่างคนในองค์กร และนำพาองค์กรไปสู่เป้าหมายเดียวกัน นั่นคือการขับเคลื่อนองค์กรไปสู่ความสำเร็จโดยที่พนักงานทั้งหมดมีส่วนร่วมในทุก ๆ ความสำเร็จขององค์กรนั่นเองค่ะ