ทำอย่างไรเมื่อลูกน้องหมดไฟไม่อยากไปต่อ 

อาการหมดไฟในการทำงานหรือทีเรียกกันติดปากว่าอาการ “Burnout” เป็นสิ่งที่หลายองค์กรหันมาให้ความสำคัญกันมากขึ้น เพราะเป็นสิ่งหนึ่งที่บ่งบอกถึงการบริหารจัดการในองค์กรและความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงาน โดยเฉพาะในช่วงที่รูปแบบการทำงานมีการเปลี่ยนแแปลงไป สภาพแวดล้อม ภาระงานก็มีการปรับเปลี่ยน หากองค์กรขาดการเตรียมความพร้อมที่ดีทั้งการบริหารจัดการงานและการบริหารคน จากความท้าทาย สนุกสนาน อาจหลายเป็นความเบื่อหน่าย และความเครียด ซึ่งเป็นนำไปสู่สภาวะ Burnout ได้

สาเหตุของอาการ Burnout อาจประกอบด้วยหลายปัจจัย ทั้งปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยทางการทำงาน ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการใช้ชีวิตประจำวัน เป็นต้น โดยการ Burnout เป็นสถาวะที่ทำให้คนทำงานรู้สึกเหนื่อยล้า ทั้งทางร่างกายและอารมณ์รู้สึกเบื่อไม่มีเรี่ยวแรงจนบางครั้งไม่อยากจะลงมือทำอะไร รู้สึกไม่มีความสุขในการทำงาน และมองงานและสิ่งแวดล้อมรอบตัวในเชิงลบ ซึ่งความรู้สึกและการกระทำเหล่านี้เองส่งผลให้ความสัมพันธ์ในทีม หรือในองค์กรเดียวกันเริ่มติดลบ แน่นอนว่าความสัมพันธ์ในของพนักงานนี้เป็นจุดเริ่มต้นที่ส่งผลประทบต่อประสิทธิภาพของงานที่ออกมาเช่นกัน 

เว็บไซต์ jucm.com เปิดเผยผลการสำรวจผู้ใหญ่วัยทำงานในปี เกี่ยวกับอาการหมดไฟ

เหนื่อยหน่ายจากการทำงานไว้ดังนี้ 

30% ทำงานหรือกังวลเรื่องงานในวันหยุด

19% ทำงาน 50 ชั่วโมงต่อสัปดาห์หรือมากกว่าในงานหลัก

43% รู้สึกว่างานของพวกเขาทำให้ระดับความเครียดรุนแรงขึ้น

64% ทำงานช่วงสุดสัปดาห์และ/หรือทำงานล่วงเวลาเป็นประจำ

20% รายงานว่ารู้สึกเครียดกับงานมาก

55% พบว่าเป็นเรื่องยากที่จะแยกตัวออกจากงาน

ที่มา https://www.jucm.com/strategies-managing-employee-burnout/

จากข้อมูลแบบสำรวจจะเห็นได้ว่า ปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อการ Burnout ของพนักงานคือเรื่องของการทำงาน ซึ่งต้องมีการจัดการร่วมกันทั้งตัวพนักงานเอง รวมถึงองค์กรที่ต้องให้ความสำคัญกับเรื่องรูปแบบ และสภาพแวดล้อมในการทำงาน โดยเรื่องที่ต้องทำความเข้าใจร่วมกันคือเรื่องของสไตล์การทำงานที่มีความแตกต่าง ทำให้สิ่งที่ตอบโจทย์ในการทำงานต่างกันออกไป ซึ่ง Model ที่เป็นที่นิยมและได้รับการยอมรับอย่างมากในการนำมาบริหารจัดการทรัพยากรบุคคล คือ DISC Model ที่แบ่งคนออกเป็น 4 สไตล์ โดยในบทความนี้จะบอกถึงสิ่งที่ควรทำและไม่ควรทำ เพื่อป้องกันการเกิดการ Burnout ของคนทำงานแต่ละสไตล์

สไตล์ D (Dominance) นักปฏิบัติ ผู้ชอบความท้าทาย

สิ่งที่ส่งเสริมให้เกิดแรงจูงใจ

  • โอกาสใหม่ๆ สร้างสรรค์ ทันสมัย
  • การได้ควบคุมสถานการณ์ มีอิสระในการทำงาน
  • โอกาสในการก้าวหน้า โดดเด่น
  • รางวัลในชัยชนะและความสำเร็จ ได้รับความชื่นชมยกย่อง

สิ่งที่ทำให้หมดไฟ

  • กำหนดกรอบกติกาและถูกควบคุมการทำงานอย่างใกล้ชิด หรือมีการก้าวก่ายงาน
  • การไม่ได้รับการยกย่องในความสามารถและผลงานที่ตนทำ หรือถูกทำให้เสียหน้า
  •  สิ่งที่บั่นทอนภาพลักษณ์ของตนเองต่อภายนอก
  • งานรูปแบบซ้ำๆ หรืองานที่ต้องลงรายละเอียดซับซ้อน น่าเบื่อ ไม่สนุก
  • การถูกจำกัดการใช้ทรัพยากร ไม่ได้รับการสนับสนุนทรัพยากร
  • ถูกบังคับให้ทำในสิ่งที่ตนไม่เห็นด้วย หรือถูกบังคับให้ทำตาม


ลูกน้องสไตล์ I (Influence) นักเจรจา ผู้ชอบพบปะผู้คน

สิ่งที่ส่งเสริมให้เกิดแรงจูงใจ

  • การได้พูดคุย ได้แสดงความคิดเห็น ความรู้สึกกับผู้อื่น
  • การมีทีมที่ดี  การแสดงออกถึงมิตรภาพ 
  • โอกาสที่ได้ช่วยเหลือผู้อื่น
  •  งานที่ไม่มีความซับซ้อนมากนัก และไม่มีกรอบเวลาที่กระชั้น
  • ความคิดเห็นของตัวเองได้รับการตอบรับหรือเป็นที่สนใจในกลุ่ม
  • ได้รับคำเชิญให้ไปเข้าทำงานกลุ่ม หรือทำโครงงานพิเศษ
  • งานที่มีความสร้างสรรค์ แปลกใหม่ ชวนสนุก

สิ่งที่ทำให้หมดไฟ

  • ผู้ร่วมงานหรือหัวหน้าที่ไม่ค่อยพูดหรือไม่ค่อยเป็นมิตร ไม่ได้รับการสนับสนุนช่วยเหลือ
  • ถูกจำกัดโดยตารางเวลาที่ชัดเจน การอยู่ในกรอบกติกา สร้างความอึดอัด
  • ไม่ได้รับการยอมรับ ไม่เป็นที่ชื่นชอบ ถูกปฏิเสธจากกลุ่ม
  • การแข่งขัน ความก้าวร้าวรุนแรง
  • พบความไม่มั่นคง ไม่ปลอดภัย ความคลุมเครือไม่ชัดเจน
  • ถูกบังคับให้ทำในสิ่งที่ตนไม่เห็นด้วย

ลูกน้องสไตล์ S (Steadiness) นักประสาน ผู้สุขุม

สิ่งที่ส่งเสริมให้เกิดแรงจูงใจ

  • การได้ทำงานร่วมกับทีมงานที่ดี มีความผูกพัน จริงใจต่อกัน
  • ให้สิ่งอำนวยความสะดวกและทรัพยากรที่พอเพียงในการดำเนินงาน
  • ความมั่นคงในงาน
  • ระบบการทำงานที่ได้รับการรับรองแล้วว่าปฏิบัติได้ผลดี ไม่มีปัญหา
  • การกำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบให้ชัดเจน
  • การได้ทำสิ่งถูกต้องแม่นยำ ได้คุณภาพสูง การที่ได้ใช้ความพิถีพิถันของตนเอง
  • ความเป็นระบบ ระเบียบ แบบแผน

สิ่งที่ทำให้หมดไฟ

  • การเปลี่ยนแปลงฉับพลัน คาดการณ์ไม่ได้
  • ไม่ได้รับการสนับสนุนช่วยเหลือจากหัวหน้าและเพื่อนร่วมงาน
  • อยู่ในสถานการณ์ที่มีการเผชิญหน้า การแข่งขัน ก้าวร้าว หรือสถานการณ์ที่มีความขัดแย้ง
  • พบความไม่มั่นคง ไม่ปลอดภัย ความคลุมเครือไม่ชัดเจน
  • ให้ทำในสิ่งที่ตนไม่ถนัด ไม่คุ้นเคย
  • เสียงวิพากษ์วิจารณ์ ตำหนิติเตียนทำให้เสียความรู้สึก
  • การที่ต้องตัดสินใจอย่างเร่งรีบฉุกละทุก
  •  ความไม่จริงใจจากผู้ร่วมงานที่เกี่ยวข้อง

ลูกน้องสไตล์ C (Conscientious) นักคิดวิเคราะห์ ผู้ชอบมีหลักการ

สิ่งที่ส่งเสริมให้เกิดแรงจูงใจ

  • การได้ทำสิ่งถูกต้อง มีระบบ ระเบียบ แบบแผน ได้คุณภาพสูง
  • เวลามากพอในการรวบรวมข้อมูล รวบรวมความคิดและวิเคราะห์ รวมถึงเวลาในการวางแผน
  • ความชัดเจนในความคาดหวังในงานที่ได้รับมอบหมาย ระยะเวลาที่กำหนดและแนวทางการทำงาน
  • ที่มีลำดับขั้นตอน
  • รางวัลสำหรับคุณภาพและความละเอียดถี่ถ้วน
  • ข้อมูลหรือแนวทางที่จะช่วยให้ทำผลงานสำเร็จได้มาตรฐาน
  •  การที่ได้ใช้ความเป็นผู้เชี่ยวชาญเพื่อลงในรายละเอียด
  •  การที่ได้คิด วิเคราะห์ในเชิงลึก

สิ่งที่ทำให้หมดไฟ

  • การเปลี่ยนแปลงฉับพลัน คาดการณ์ไม่ได้ ความคลุมเครือไม่ชัดเจน
  •  การที่ต้องตัดสินใจฉุกละทุก หรือไม่มีเวลาเก็บข้อมูล วิเคราะห์พิจารณา
  • ให้ดูแลงานที่เกี่ยวกับสังคมและผู้คน ให้ทำในสิ่งที่ตนไม่ถนัด ไม่คุ้นเคย
  • ระบบการควบคุมคุณภาพมีข้อบกพร่อง มีความไม่ถูกต้อง
  • ㆍ การถูกวิพากษ์วิจารณ์ตำหนิติเตียน โดยเฉพาะในเรื่องที่รับผิดชอบอยู่
  • ไม่เป็นไปตามแผนที่วางเอาไว้
  • ไม่ได้รับการสนับสนุนร่วมมือจากหัวหน้าและเพื่อนร่วมงาน
  • อยู่ในสถานการณ์ที่มีการเผชิญหน้า สถานการณ์ที่มีความขัดแย้ง